ประโยชน์ด้านระบบปัสสาวะจากการรับประทานสารสกัดจากแครนเบอร์รี่
1. ช่วยป้องกันการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบติดเชื้อ โดยเฉพาะในผู้หญิง
ผู้หญิงมักจะติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะอักเสบง่ายเนื่องจากมีท่อปัสสาวะสั้นทำให้เชื้อแบคทีเรียเดินทางผ่านท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่าย เมื่อเกิดความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยก็เกิดการติดเชื้อได้ เช่น ติดเชื้อเมื่อต้องเดินทางไกล นั่งเครื่องบินนั่งรถทัวร์นาน รถติดมาก ต้องกลั้นปัสสาวะเพราะเข้าห้องน้ำลำบาก เมื่อไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดต่างประเทศก็จะดื่มน้ำน้อยลงเพราะหาห้องน้ำลำบาก
เมื่อไปทำกิจกรรมที่เสียเหงื่อขาดน้ำมากแต่ดื่มน้ำไม่พอเช่น เข้ายิมออกกำลังกาย วิ่งมาราธอน ดื่มน้ำน้อย เหล่านี้จะทำให้ปัสสาวะข้น น้ำปัสสาวะน้อยแบคทีเรียก็ไม่ถูกกำจัดให้ออกมาตามน้ำปัสสาวะ แบคทีเรียจะเกาะกับผนัง กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อขึ้น และอาจลุกลามขึ้นสู่ท่อไตและกรวยไต เป็นกรวยไตอักเสบ
ในผู้หญิงบางคนหลังมีเพศสัมพันธ์ อาจมีการบวมช้ำบาดเจ็บบริเวณท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้นหลังมีเพศสัมพันธ์เช่นกัน ซึ่ง PACs type A ในแครนเบอร์รี่ สามารถช่วยยับยั้งแบคทีเรียส่วนใหญ่ไม่ให้เกาะเยื่อบุทางเดินปัสสาวะ จึงลดความเสี่ยงของการอักเสบติดเชื้อได้ ความสามารถในการยับยั้งนั้นขึ้นกับปริมาณของ PACs หากปริมาณ PACs ยิ่งสูง ความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรียยิ่งสูงขึ้นด้วย
2. ผู้ที่มีประวัติ การติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะซ้ำ ๆ เช่น
2.1 ผู้หญิงสูงอายุ ที่ใกล้หมดประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนแล้ว มีภาวะช่องคลอด และบริเวณรอบๆท่อปัสสาวะแห้ง จากขาดฮอร์โมน ทำให้แบคทีเรียเกาะเยื่อบุง่ายขึ้น เมื่อกลั้นปัสสาวะเพียงเล็กน้อยก็ติดเชื้อได้
2.2 ผู้ที่ติดเชื้อปัสสาวะซ้ำๆ บ่อยๆ ในเวลาใกล้ๆกัน ไม่กี่สัปดาห์ เมื่อกินยาปฏิชีวนะกำจัดแบคทีเรียไปได้ แต่เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะที่เกิดอักเสบหรือเป็นแผลยังไม่หายสนิท ก็ทำให้แบคทีเรียเข้าไปได้ใหม่ ติดเชื้อซ้ำอีกโดยง่าย
2.3 ผู้ป่วยหลังฉายแสงบริเวณอุ้งเช้งกราน แล้วเกิดแผลในกระเพาะปัสสาวะจากการฉายแสง จะติดเชื้อปัสสาวะง่าย และซ้ำๆ
2.4 ผู้ชายสูงอายุ มักมีภาวะต่อมลูกหมากโต ในบางรายมีต่อมลูกมากอักเสบเรื้อรังซ้ำๆ การรักษาต่อมลุกหมากอักเสบต้องกินยาปฏิชีวนะนาน กว่ากระเพาะปัสสาวะอักเสบธรรมดา
ผู้ที่มีภาวะข้างต้น แพทย์จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะนานขนาดปกติขึ้น เช่น 2-3 สัปดาห์ และอาจต้องรับประทานขนาดต่ำต่อเนื่องอีกเป็นเดือนเพื่อป้องกันการตืดเชื้อซ้ำๆ ซึ่งพบว่าการรับประทานยาปฏิชีวนะนาน จะเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดเชื้อราได้ มีงานวิจัยสนับสนุน การใช้แครนเบอร์รี่เพื่อทดแทนการใช้ยาปฎิชีวนะต่อเนื่องเป็นเวลานาน ช่วยป้องกันการติดเชื้อระบบปัสสาวะซ้ำๆและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อราจากการใช้ยาปฎิชีวนะ
3. ในผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะพิการ จากโรคต่างๆ
เช่น เบาหวาน ไขสันหลังบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ กระเพาะปัสสาวะพิการตั้งแต่กำเนิด เป็นต้น
ผู้ป่วยต้องสวนปัสสาวะทิ้งด้วยตัวเองหรือผู้ดูแลวันละหลายครั้ง มีงานวิจัย( Hess MJ,2008 ) ว่าแครนเบอร์รี่ช่วยลดการติดเชื้อในปัสสาวะชัดเจนเมื่อรับประทานทุกวันแล้วติดตามไป 6 เดือน
4. ในผู้ป่วย ที่มีการผ่าตัดเอากระเพาะปัสสาวะ และต้องทำกระเพาะปัสสาวะเทียม (ชนิด illeal conduit)
ผู้ป่วยเหล่านี้จะเกิดการติดเชื้อง่ายกว่าคนปกติ มีงานวิจัย ( Termiz Z , 2018) ว่าแครนเบอร์รี่ช่วยลดการติดเชื้อในปัสสาวะชัดเจนเมื่อรับประทานทุกวันแล้วติดตามไป 4 เดือน
5. ในผู้หญิงตั้งครรภ์
มีงานวิจัยว่า การดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ช่วยลดการติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะ แต่อย่างไรก็ตามไม่มีงานวิจัยสนับสนุนความปลอดภัยของการรับประทานสารสกัดแครนเบอร์รี่ในหญิงตั้งครรภ์